ระบบโทรทัศน์วงจรปิด, กล้องวงจรปิด หรือ CCTV System เป็นระบบส่งภาพจากตัวกล้องโทรทัศน์วงจรปิดที่ติดตั้งตามที่ต่างๆ มายังระบบแสดงผลภาพ โดยทั่วไปจะอยู่คนละที่กับกล้อง กล้องวงจรปิดในปัจจุบันนี้แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ กล้องวงจรปิดแบบอนาล็อก(Analog Camera) และกล้องวงจรปิดแบบเน็ตเวิร์ค(IP Camera) ซึ่งกล้องแต่ละประเภทก็จะมีข้อดีข้อเสียแตกต่างกัน ครั้งก่อนเราได้แนะนำข้อดีและข้อเสียของระบบ Analog ไปแล้ว ครานี้จะมาแนะนำในส่วนของระบบ IP กันบ้าง
กล้องวงจรปิดแบบ IP เป็นกล้องที่ต้องตั้งค่า IP ผ่านระบบเครือข่าย เพื่อกำหนดตัวตนในการแสดงภาพ และต้องอาศัยสายชนิด LAN หรือ CAT5 มาเป็นตัวต่อเชื่อมต่อ หรือบางรุ่นอาจใช้เป็นแบบไร้สายได้ ระบบนี้มีราคาแพงกว่าระบบแรก และต้องอาศัยความรู้มากกว่าในการเซ็ตระบบ
ข้อดี
• Wirless สนับสนุนการทำงานผ่านระบบเครื่อข่ายไร้สายมากกว่า Analog
• ระบบเครื่อข่ายเดิม : กล้อง IP สามารถใช้ร่วมกับระบบ LAN ที่มีอยู่แล้วได้โดยไม่ต้องเดินสายใหม่
• เพิ่มกล้องได้ง่าย : หากต้องการเพิ่มกล้องสามารถทำได้ง่ายโดยไม่ติดข้อจำกัดของ Channel ที่จำกัดของ DVR อีกต่อไป
• ประสิทธิภาพสูง : เนื่องจากกล้อง IP แต่ละตัวทำงานแยกอิสระ ไม่ได้ส่งภาพไปประมวลผลที่ตัวกล้อง ทำให้ได้ภาพที่มีคุณภาพ “เต็มที่” ไม่อั้นที่ DVR อีกต่อไป
• แต่ละตัวมี IP ของตัวเอง ทำให้การตั้งค่ากล้องแต่ละตัวทำได้ง่าย
• ความละเอียด : เนื่องจากเป็นระบบ Digital ทำให้สามารถข้ามข้อจำกัดที่ระบบอนาล็อกไม่สามารถทำได้ นั่นคือ ข้ามจาก 576 TVL ไปเป็น 1080p
• POE : บางรุ่นสามารถส่งสายไฟไปพร้อมกับสาย LAN ได้ โดยไม่ต้องเดินสายไฟแยกต่างหาก
• ความปลอดภัยสูงมาก : เนื่องทำงานบนระบบ digital สามารถที่จะ backup ข้อมูลได้ตลอดเวลาบน server และ hacker ไม่สามารถ “ดัก”เอาข้อมูลระหว่างทางได้
ข้อเสีย
• การส่งผ่านข้อมูล : เนื่องจากใช้ Bandwidth สูงมาก ตั้งแต่ 500 kbps ถึง 1.5 Mbps ทำให้ระบบทำงานหนัก
• ต้นทุน : ค่าใช้จ่ายจะสูงขึ้นกว่าระบบอนาล็อก ไม่ว่าจะเป็นค่าอุปกรณ์, การดูแลรักษา รวมไปถึง ความรู้ของผู้ที่บริหารจัดการข้อมูล
• ใช้ข้ามยี่ห้อไม่ได้ : เนื่องจากระบบถูกพัฒนาจากหลายรายทำให้มีมากกว่า 1 มาตรฐาน จึงไม่สามารถใช้กล้องที่มี Protocal ต่างกันคุยกันได้ พุดให้เข้าใจง่ายๆคือ “ข้ามยี่ห้อไม่ได้” นั่นเอง
ตอนนี้เราก็ทราบข้อดี-ข้อเสีย ของกล้องทั้ง 2 ประเภทไปแล้ว จะเลือกใช้งานกล้องวงจรปิดแบบไหนก็ขึ้นอยู่กับความต้องการใช้งาน ความเหมาะสมของสถานที่และประโยชน์ที่จะได้รับ ลองศึกษาก่อนตัดสินใจซื้อนะ